ปัจจุบัน โลกของเรากำลังได้รับผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งเป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยทั้งสองปัญหาถูกยกระดับให้เป็นเรื่องระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เวลานี้ ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในภาคพลังงาน อย่างการใช้รถยนต์
ที่ผ่านมา ก๊าซเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามจำนวนรถยนต์สันดาปที่มากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมถึงก๊าซพิษอื่น ๆ อุตสาหกรรมยานยนต์จึงเริ่มปรับตัวเพื่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ด้วยการเพิ่มรถพลังงานทางเลือกให้กับผู้ใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้า รถไฮบริด รถไฮบริดปลั๊กอิน หรือรถเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ส่วนรถยนต์สันดาปดั้งเดิม ก็มีการพัฒนาเครื่องยนต์ให้ใช้ได้กับเชื้อเพลิงสังเคราะห์หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อให้เครื่องยนต์ยังคงไปต่อได้ แต่รักษ์โลกมากยิ่งขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมน้ำมันเครื่องก็ปรับตัวเช่นกัน ด้วยการวิจัยและพัฒนาสูตรของน้ำมันเครื่องให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น รวมถึงปรับปรุงคุณสมบัติให้เป็นน้ำมันเครื่องคุณภาพสูง ที่สามารถดูแลเครื่องยนต์ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้รถประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และลดการปล่อยก๊าซพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมที่ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
“ก๊าซเรือนกระจก” มาจากไหน
ก๊าซเรือนกระจก คือตัวการหลักของภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น โดยก๊าซเรือนกระจกที่ปกคลุมอยู่ในชั้นบรรยากาศเปรียบเสมือนหลังคาของเรือนกระจก ที่ยอมให้รังสีความร้อนผ่านเข้ามาแต่ไม่สะท้อนกลับออกไป ด้วยลักษณะเช่นนี้ ทำให้เกิดการเก็บกักความร้อน พื้นผิวโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก๊าซเรือนกระจก มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ อาทิ กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิส การทำการเกษตรและปศุสัตว์ การตัดไม้ทำลายป่า กระบวนการทางอุตสาหกรรม การจัดการของเสีย การใช้พลังงานความร้อน ฯลฯ
โดยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์จะมี 7 ชนิด คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ก๊าซมีเทน (CH₄) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N₂O) และกลุ่มก๊าซฟลูออริเนต (Fluorinated Gases) กลุ่มก๊าซชนิดนี้ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่เป็นก๊าซสังเคราะห์ ประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) สารนี้ถูกนำมาใช้เป็นตัวทำความเย็นแทนสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือซีเอฟซี (CFCs) ที่ทำลายชั้นโอโซน ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF₆) และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF₃)
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบัญชีแสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ โดยต้องรายงานความคืบหน้าต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ทุก 2 ปี ซึ่งข้อมูลของปี 2565 ระบุว่า ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย เกิดขึ้นจากภาคพลังงานมากที่สุด มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ร้อยละ 69.06 มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการขนส่งสูงถึงร้อยละ 29.16 นอกจากนี้ ในปี 2557 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นลำดับที่ 20 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.77 ของการปล่อยทั้งโลก
ผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกต่อมวลมนุษยชาติ
เวลานี้ ผู้คนทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะโลกร้อน อันเกิดมาจากก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีปริมาณมากเกินสมดุล พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นต่อเนื่อง จนโลกถึงจุดสิ้นสุดภาวะโลกร้อน และกำลังดำเนินอยู่ในยุคภาวะโลกเดือด (Global Boiling)
การสิ้นสุดยุคโลกร้อนเข้าสู่ยุคโลกเดือด นับเป็นวาระระดับโลกที่ทำให้เราต้องหันกลับมาตระหนักถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างจริงจัง การที่โลกร้อนขึ้นไม่หยุด ไม่ได้ส่งผลแค่เรื่องสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย ทว่ายังทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกนับไม่ถ้วน ทั้งภัยแล้ง พายุ คลื่นความร้อน การขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้ป่า น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วม การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอื่น ๆ สร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการใส่ใจเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จากปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เราทุกคนกำลังได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า คือสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมาใส่ใจกับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวอย่างการใช้รถยนต์ เพราะกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดการสะสมพลังงานความร้อนในชั้นบรรยากาศมากที่สุด
ดังนั้น การดูแลรักษาเครื่องยนต์ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่ปกป้องเครื่องยนต์อย่างดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้รถได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศอื่น ๆ
บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น ภายใต้แบรนด์ “Idemitsu” จากประเทศญี่ปุ่น มีเป้าหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะเดียวกันก็ยังคงประสิทธิภาพในการหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ ด้วยนวัตกรรมที่ทำให้น้ำมันเครื่องเป็นมิตรทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ลดสารเคมีอันตราย และใช้สารเพิ่มคุณภาพที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้รถและเครื่องยนต์
ผลิตภัณฑ์ Idemitsu IFG, IFD และ IRG ซีรีส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ชูนวัตกรรมการขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ด้วยการลดและชดเชยคาร์บอน อีกทั้งยังถูกพัฒนาให้เป็นน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงที่ช่วยดูแลรักษาเครื่องยนต์เป็นอย่างดี ชะลอการสึกหรอ ลดการกัดกร่อน ระบายความร้อน ทำความสะอาดเครื่องยนต์ ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ทำให้รถของคุณประหยัดการใช้พลังงาน ประหยัดทรัพยากร ลดการปล่อยมลพิษ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องจากอิเดมิตสึ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งออกแบบมาเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 14001:2015 ด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มาตรฐาน ISO 50001:2018 ด้านระบบการจัดการด้านพลังงานในองค์กร รวมถึงรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) จากกระทรวงอุตสาหกรรม
ไม่เพียงเท่านั้น บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ยังเล็งเห็นความสำคัญในการลดการปล่อยและเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตด้วย โดยมีการจัดทำเป็นรายงานบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก และตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในองค์กร 10% ภายในปี 2578 (ค.ศ. 2035) เป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ให้ได้ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065)
โดยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ได้รับใบรับรองว่าเป็นองค์กรที่ได้ขึ้นทะเบียนและขอรับรองการแสดงปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในปี 2565 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและแนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกในองค์กร รวมถึงดำเนินกิจกรรมปลูกป่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มต้นไม้สีเขียวที่จะดูดซับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ไปเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์แสง
จากความมุ่งมั่นของ บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น ภายใต้แบรนด์ “Idemitsu” ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องและน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งจากกระบวนผลิต กิจกรรมในองค์กร และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่ไม่เพียงแต่ปกป้องเครื่องยนต์ในรถคู่ใจของคุณ แต่ยังลดการทำลายโลกด้วย นับเป็นการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
บทความประชาสัมพันธ์จาก : บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด www.apollothai.com
ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID : @apollothailand
บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น ภายใต้แบรนด์ “Idemitsu” จากประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงกลายเป็นตัวเลือกที่ผู้ใช้รถยนต์ต้องคำนึงถึง เพราะการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงไม่เพียงแค่ช่วยปกป้องเครื่องยนต์จากการสึกหรอและยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
ปัจจุบันโลกกำลังมุ่งหน้าไปสู่การใช้พลังงานสะอาดที่สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า ความต้องการในการใช้น้ำมันเครื่องเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทุกวันนี้ มีใครบ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สองปัญหานี้ เป็นเรื่องที่ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ
สำหรับใครที่ต้องใช้เครื่องยนต์ เครื่องจักร ที่มีระบบไฮดรอลิกเป็นอีกหนึ่งระบบสำคัญมักจะพบปัญหาสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ส่งผลโดยตรงทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายซึ่งสิ่งปนเปื้อนที่พบในระบบไฮดรอลิกเราแบ่งได้ดังนี้
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เฟส 6 700/623 หมู่ 4 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 20160